วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อาหารประเภทสำรับภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาหารหลักคือ ข้าวเหนียว รับประทานกับกับข้าวหลายอย่าง มีลักษณะดังนี้
1.  อาหารประเภทแกง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ไม่นิยมใส่กะทิ แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
                      1)  แกงที่ใส่เครื่องแกง ประกอบด้วยพริก ตะไคร้ ข่า หัวหอม กระเทียม และเกลือ นำมาโขลกรวมกัน แล้วละลายเครื่องพริกแกงลงในน้ำเดือด ใส่เนื้อสัตว์ ผัก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ปลาร้า และเกลือ แต่งกลิ่นด้วยใบแมงลัก แกงจะมีรสเค็มและเผ็ดเล็กน้อย เช่น แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักขี้เหล็กใส่หนังหมู
                      2)  แกงที่ไม่ใส่เครื่องแกง ประกอบด้วยเครื่องเทศ ได้แก่ ตะไคร้ หัวหอม พริก นำมาทุบพอแตก แล้วใส่ในน้ำแกง ต้มจนเดือด ใส่เนื้อสัตว์และผัก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ปลาร้า และเกลือ เช่น แกงหน่อไม้ แกงบางชนิดปรุงรสเปรี้ยว โดยใส่มะนาวหรือผักที่มีรสเปรี้ยว เช่น ต้มปลาใส่ส้ม ต้มไก่ใส่ส้ม
2.  อาหารประเภทยำและพล่า ได้แก่ ลาบ ส้มตำ เนื้อน้ำตก ซุบผัก ซุบหน่อไม้

3.  อาหารประเภทเครื่องจิ้ม ได้แก่ น้ำพริก ซึ่งเรียกว่า แจ่ว หมายถึง น้ำพริกปลาร้า โดยใช้ปลาต้มโขลกรวมกับพริกชี้ฟ้าเผา หอมเผา และกระเทียมเผาให้แหลก แล้วปรุงรสเค็มด้วยน้ำปลาร้า อาจปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะเขือเทศเผา หรือน้ำมะนาว รับประทานคู่กับผักสดหรือผักต้ม
4.  อาหารประเภทปิ้ง ยาง เช่น ปิ้งเนื้อ ปิ้งปลาดุก หมกปลาซิว หมกเครื่องในไก่ (นำมาห่อด้วยใบตองเป็นห่อแบนๆ แล้วย่างจนสุก)
5.  อาหารประเภทเครื่องเคียงหรือของแนม เช่น แจ่วพริกแดงและแจ่วพริกแห้ง ซึ่งเป็นแจ่วที่ไม่ได้โขลกเนื้อปลาลงไปด้วย นิยมรับประทานคู่กับปลาดุกย่างพร้อมผักสด
6.  อาหารหวาน ขนมที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ขนมแกงบวด เช่น แกงบวดฟักทอง ข้าวต้มผัด ขนมเทียน ขนมต้ม ข้าวต้มมัด

อาหารประเภทสำรับภาคเหนือ

 ในการจัดสำรับอาหาร นอกจากจะใช้ขันโตกเป็นภาชนะสำหรับจัดตั้งสำรับกับข้าวไว้รับประทานกันตามปกติในชีวิตประจำวันแล้ว  ยังนิยมใช้รับแขกอีกด้วย และกลายมาเป็นประเพณีนิยมในการเลี้ยงขันโตกในปัจจุบัน ที่เรียกว่า ขันโตกดินเนอร์  ซึ่งอาจารย์ไกรศรีนิมมานเหมินท์ คหบดีที่ได้รับการยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)  เป็นผู้ริเริ่มการจัดขันโตกดินเนอร์  โดยรือฟื้นการจัดอาหารแบบขันโตก มาเลี้ยงรับรองแขกในตอนเย็น  โดยเริ่มจัดเมื่อ พ.ศ. 2449  เพื่อเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ หัวหน้าผู้พิพากษาภาค 5 ในสมัยนั้น ณ บ้านพักของอาจารย์ไกรศรี ที่ถนนฟ้าฮ่าม จังหวัดเชียงใหม่ นับแต่นั้นยเป็นต้นมา งานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์ จึงกลายมาเป็นประเพณีนิยมแพร่หลายมาจนปัจจุบัน (เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์, 2538, 5)          

             อาหารที่เป็นสำรับสำหรับการจัดขันโตก  ทิ่นิยมกัน เช่น  ลาบ แกงอ่อม ไส้อั่ว แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง พร้อมผักจิ้ม อาหารหวาน  เช่น ข้าวแต๋น ขนมจ็อก


อาหารประเภทสำรับของภาคใต้

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคใต้

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคใต้ ส่วนใหญ่จะมีรสเผ็ดจัด โดยทั่วไปรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักพร้อมกับกับข้าวต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทดังนี้
1.  อาหารประเภทแกง แกงของภาคใต้มีชื่อเรียกตามเครื่องปรุงและวิธีการประกอบอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงหอยแครงกับใบชะพลู แกงเหลือง แกงไตปลา หมูต้มตะลิงปลิง ปลาต้มขมิ้น

2.  อาหารประเภทยำและพล่า เป็นอาหารที่คล้ายคลึงกับอาหารท้องถิ่นภาคกลาง แต่อาจมีเครื่องปรุงรสที่แตกต่างกันบ้างตามวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ยำลูดมุด ยำมะม่วงเมา ยำใบบัวบก พล่าเนื้อสด พล่ากุ้ง
3.  อาหารประเภทเครื่องจิ้ม แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
                      1)  น้ำพริก เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเครื่องปรุงหลัก คือ กะปิ เช่น น้ำพริกลูกโจรหรือน้ำพริกขยำ น้ำพริกกะปิกุ้งเสียบ โดยใช้มะนาวปรุงรสให้เปรี้ยวหรือใช้ผักชนิดอื่นที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มจี๊ด ตะลิงปลิง
                      2)  หลน มีวิธีการทำคล้ายอาหารท้องถิ่นภาคกลาง เช่น บูดูหลน จิ้งจังหลน
                      3)  เครื่องจิ้มทั่วไป เช่น แกงพุงปลา
4.  อาหารประเภทผัด แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
                      1)  ผัดที่มีรสเผ็ด จะนำน้ำพริกแกงเผ็ดหรือแกงอื่นๆ มาผัดกับเนื้อสัตว์ เช่น คั่วกลิ้ง ผัดเครื่องร้อย เป็นผัดเผ็ดที่ใส่เครื่องเทศหลายชนิด เพื่อดับกลิ่นคาว
                      2)  ผัดที่ไม่มีรสเผ็ด มีทั้งผัดกับเนื้อสัตว์และผัดผักล้วน เช่น ผัดกะแป๊ก ผัดผักหนาม ผัดผักกูด ผัดเปรี้ยวหวานสะตอ สะตอผัดกุ้ง สะตอผัดกะทิ
5.  อาหารประเภทเครื่องเคียงหรือของแนม ได้แก่ ปลาเค็ม เช่น ปลามูรา ปลาชิ้งชั้ง ปลาข้างเหลือง ปลาอินทรี ไข่ปลา เช่น ไข่ปลากระบอก ไข่ปลาหมึก และหอย เช่น หอยแมลงภู่แห้ง หอยหลอด
6.  อาหารหวาน ส่วนใหญ่เป็นขนม เช่น ขนมโค ขนมเมล็ดข้าว ขนมไข่ปลา ขนมลา ขนมปุยหิมะ ทุเรียนกวน

อาหารประเภทสำรับของภาคกลาง

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคกลาง

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคกลาง โดยทั่วไปจะรับประทานข้าวเจ้ากับกับข้าวหลายอย่าง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1.  อาหารประเภทแกง แกงของภาคกลางมีชื่อเรียกตามเครื่องปรุงและวิธีการประกอบอาหาร เช่น แกงเขียวหวาน แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงส้ม แกงเลียง แกงป่า แกงต้มโคล้ง ต้มยำ ต้มข่า ต้มจืด
2.  อาหารประเภทยำและพล่า เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเครื่องปรุงรสหลัก เรียกว่า น้ำปรุงรสที่ประกอบด้วยน้ำปลา น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียก น้ำตาลทราย และพริกขี้หนูซอยหรือทุบ นอกจากนี้อาจใช้น้ำปรุงรสที่มีส่วนผสมของน้ำพริกเผาหรือเครื่องพริกแกงคั่วด้วย การทำยำจะนำเครื่องปรุงทุกอย่างทั้งเครื่องปรุงหลักและเครื่องปรุงรสมาคลุกเคล้าผสมกัน แล้วตกแต่งด้วยผักชี หอมซอย ตะไคร้ซอย หรือสะระแหน่
                      สำหรับการทำพล่ามีวิธีการทำเช่นเดียวกับยำ โดยนำเนื้อสัตว์ดิบ สุกๆ ดิบๆ หรือสุกมาผสมกับเครื่องปรุงรสคล้ายคลึงกับยำ แต่มีรสเปรี้ยว เค็ม และเผ็ดจัด และจะดับกลิ่นคาวโดยใส่ตะไคร้ หอม และสะระแหน่ เช่น พล่าเนื้อสด กุ้งเต้น
3.  อาหารประเภทเครื่องจิ้ม แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
                      1)  น้ำพริก เป็นอาหารที่นำเครื่องปรุงต่างๆ มาตำรวมกันหรือคลุกรวมกัน ปรุงให้ได้รสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด (บางประเภทมีรสหวานด้วย) นำมาตักใส่ถ้วยแก้วเสิร์ฟพร้อมผักสด ผักต้ม ผักดอง หรือผักชุบไข่ทอด เช่น น้ำพริกกะปิ
                      2)  น้ำพริกผัด เป็นอาหารที่นำเนื้อสัตว์มาใช้เป็นเครื่องปรุง ต้องนำไปผัดให้สุกก่อนเสิร์ฟ จะรับประทานคู่กับผักสด ผักต้ม ผักดอง หรือผักชุบแป้งทอด เช่น น้ำพริกมะขามผัด
                      3)  หลน เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง เช่น เต้าเจี้ยว ปลาเค็ม ปลาร้า กุ้ง ปูเค็ม มาต้มกับกะทิ แล้วใส่หอมซอยและพริกชี้ฟ้า ปรุงรสให้เค็ม เปรี้ยว และหวาน รับประทานคู่กับผักสด
                      4)  เครื่องจิ้มทั่วไป เช่น น้ำปลาหวาน แสร้งว่า หอยดองปรุง ปูเค็มคลุก ปลาร้าสับ
                      5)  น้ำจิ้ม ใช้สำหรับเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยมากขึ้น เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มทอดมัน
            4.  อาหารประเภทผัด เป็นการประกอบอาหารให้สุก โดยใช้น้ำมันหรือกะทิเป็นส่วนประกอบในการผัด เช่น ผัดพริกแกง ผัดกระเพรา ผัดเผ็ด ผัดผัก ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดวุ้นเส้น


            5.  อาหารประเภทเครื่องเคียงหรือของแนม เช่น ปลาทูทอดและกุ้งเค็ม รับประทานคู่กับน้ำพริกกะปิ ปลาดุกย่าง และกุ้งเผา รับประทานคู่กับน้ำปลาหวาน
6.  อาหารหวาน เป็นของหวานหรือขนมที่รับประทานหลังอาหารคาว หรือรับประทานเป็นของว่างระหว่างมื้ออาหาร ขนมส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว แป้ง ไข่ น้ำตาล มะพร้าว และแต่งกลิ่นแต่งสี ขนมหวานของภาคกลางมีหลายชนิด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวต้มมัด ลูกชุบ กล้วยฉาบ ขนมถั่วแปบ ขนมไข่หงส์ ขนมชั้น ขนมจาก ขนมผิง ขนมกลีบลำดวน กระท้อนลอยแก้ว

ความหมายของอาหารประเภทสำรับ


1.  ความหมายและความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
                ตั้งแต่สมัยโบราณคนไทยมักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีคนหลายวัยทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา ดังนั้นการจัดอาหารจึงต้องมีความหลากหลาย เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมในแต่ละโอกาส จึงเกิดวัฒนธรรมการบริโภคอาหารเป็นสำรับแบบไทยขึ้น



        1.1   ความหมายของอาหารประเภทสำรับ
                         คำว่า “สำรับ” หมายถึง ภาชนะ เช่น ถาด เป็นต้น ใส่ถ้วยชามพร้อมบรรจุอาหารคาวหรือหวานเป็นชุด เช่น สำรับคาว สำรับหวาน เป็นต้น
                         ส่วน “อาหารสำรับ” หมายถึง การจัดอาหารหลายชนิดให้อยู่ในสำรับเดียวกัน เช่น มีข้าว แกงเผ็ด แกงจืด น้ำพริก เป็นต้น สำรับอาหารไทยในทุกมื้อจะถูกจัดขึ้นอย่างพิถีพิถัน กับข้าวทุกจานที่จัดขึ้นจะต้องมีความสัมพันธ์กัน คนไทยจึงมักจัดสรรสำรับต่างๆ ให้มีความสมดุลกัน  หากสำรับใดมีอาหารหวานเปรี้ยว ก็ต้องมีอาหารจานหวานอีกอย่างหนึ่งสำหรับกินแก้รสกัน มื้อใดมีอาหารจานเผ็ดก็จะต้องมีอาหารจานเค็มและแกงจืดรวมอยู่ด้วย นับเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนไทยในการสร้างสรรค์อาหารต่างๆ ให้มีความเอร็ดอร่อยน่ารับประทาน และยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร
                         คนไทยรับประทานอาหารข้าวเป็นอาหารหลักร่วมกับกับข้าวต่างๆ โดยคนไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับประทานข้าวเหนียว ส่วนภาคกลางและภาคใต้รับประทานข้าวเจ้า กับข้าวของคนไทยสมัยก่อนจะรับประทานปลาเป็นอาหารหลัก เพราะปลาเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ดั่งคำพังเพยที่กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยในอดีตว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ฉะนั้นอาหารสำรับประจำครัวไทยจึงมีน้ำพริกปลาย่างหรือปิ้งกับผักสดหรือผักพื้นบ้าน
                         ผักพื้นบ้าน หมายถึง พันธุ์พืชในท้องถิ่น นำไปประกอบเป็นอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ผักพื้นบ้านจะมีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดใบและยอด เช่น ยอดกระถิน ใบขี้เหล็ก หมวดหัวและราก เช่น มัน ขิง ข่า หมวดดอก เช่น ดอกขจร หัวปลี หมวดฝัก เช่น ฝักมะรุม สะตอ และหมวดผล เช่น มะเขือ ฟักทอง เป็นต้น
                         ผักพื้นบ้านที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นอาหารเสริม บ้านคนไทยสมัยก่อนจะนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ควาย ซึ่งจะไม่ฆ่ากันพร่ำเพรื่อ อาจจะมีการฆ่าไก่เมื่อต้องเลี้ยงรับรองแขกที่มาบ้าน ฆ่าหมู วัว ควาย ก็ต่อเมื่อมีงานเลี้ยงฉลอง งานบวช หรืองานแต่งงานเท่านั้น เพราะสังคมไทยถือว่าการฆ่าสัตว์เป็นบาป     
                         นอกจากปลาซึ่งเป็นอาหารที่หาได้ง่ายตามแต่ละท้องถิ่นแล้ว ยังมีสัตว์ชนิดอื่นที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น กุ้ง หอย ปู กบ อึ่ง เขียด แย้ เป็นต้น เมื่อประชากรมีมากขึ้น จึงมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพ มีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้ชาวบ้านทั่วไปสบายใจในการซื้อหามาบริโภคมากกว่าที่จะต้องลงมือฆ่าเอง ส่งผลให้มีการนำเนื้อสัตว์ใหญ่มาปรุงเป็นอาหารในสำรับไทยมากขึ้น
                         จากสมัยดั้งเดิมที่การรับประทานอาหารไทยเป็นแบบเรียบง่าย ในสมัยต่อมาจึงเริ่มมีการคิดค้นและดัดแปลงสำรับอาหารต่างๆ โดยเฉพาะในวังหลวง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวิวัฒนาการในเรื่องวัฒนธรรมการรับประทาน จึงมักเกิดการพัฒนาทั้งสำรับอาหารไทย รูปแบบ การรับประทาน และศิลปะในการจัดอาหารให้วิจิตรงดงาม ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่วิธีการประกอบอาหารออกสู่ภายนอก โดยบรรดาข้าหลวงที่เข้ามาถวายตัวจะได้รับการฝึกฝนวิชาการบ้านการเรือนติดตัวกลับไป เมื่อออกจากวังไปมีเหย้ามีเรือนจึงเผยแพร่วิชาช่างกุลสตรีชาววังออกไปสู่ชาวบ้านทั่วไป
          1.2  ความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
                         อาหารประเภทสำรับมีความสำคัญกับคนไทย ดังนี้
                         1)  แสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการรับประทานของคนไทย ซึ่งในสมัยโบราณหรือตามชนบทจะนั่งล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน โดยมีกับข้าวหลากหลายวางไว้ตรงกลางวง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้คนนิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น แต่ยังคงมีรูปแบบการจัดวางอาหารที่พัฒนามาจากอาหารสำรับ เช่น มีอาหารเปรี้ยวก็มักจะมีอาหารหวานด้วย มื้อที่มีอาหารจานเผ็ดมักจะมีอาหารเค็มและแกงจืดเสริม
                         2) ทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย ซึ่งมีรสชาติเข้ากันได้ดีหรือเสริมรสชาติกัน เช่น แกงเผ็ดหรือแกงส้มจะมีปลาเค็มหรือไข่เจียวเป็นเครื่องเคียง ที่สำคัญคือผู้บริโภคจะได้รับสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 5 หมู่

                        เครื่องเคียง หมายถึง อาหารที่รับประทานคู่กับอาหารอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขนมจีนน้ำพริก มีผักสดเป็นเครื่องเคียง ข้าวแช่ มีเครื่องเคียง เช่น ไชโป๊วผัด ปลาแห้งผัดพริกหยวกสอดไส้ หอมสอดไส้ กะปิทอด เป็นต้น 

อาหารประเภทสำรับ

ความหมายของอาหารประเภทสำรับ 
1. สำรับ คือ ภาชนะที่ใส่จาน ถ้วย
2. อาหารสำรับ  หมายถึง  การจัดอาหารหลายอย่างหลายชนิดไว้ในสำรับเดียวกัน

   คนไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เวลารับประทานอาหารมักจัดอาหารใส่ในสำรับเดียวกัน   เพื่อสะดวกในการจัดและรับประทาน  โดยเฉพาะคนแถบภาคเหนือ และ ภาคอีสาน จะนั่งเป็นวงกลมรับประทานพร้อมกันทั้งบ้าน  ในสำรับนั้นก็จะประกอบด้วย  อาหารคาว  อาหารหวาน  พร้อมเครื่องเคียง จำพวก ผักนาๆชนิด

ความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
1. แสดงถึงวิธีชีวิตและวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนไทย
2. ทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย

ชนิดของอาหารปรเภทสำรับ
อาหารทยมีหลากหลายชนิดและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคตามสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ 2 ประเภท คือ อาหารคาว และอาหารหวาน

หลักเกณฑ์ในการกำหนดรายการอาหาร
1. คุณค่าทางโภชนาการ
2. หลักเศรษฐกิจ
3. งบประมาณ
4. ผู้รับประทานอาหาร หรือสมาชิกในครอบครัว
5. เวลาหรือมื้ออาหาร
6. ลักษณะของอาหารแต่ละชนิด ในแต่ละมื้อ
7. ชนิดหรือประเภทของอาหาร
8. การจัดอาหาร
9. ฤดูกาลของอาหาร

ความหมายของการจัดและตกแต่งอาหาร
การประดับ การจัดอาหารให้ดี สวยงาม น่ารับประทาน เรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่ต้องใช้ศิลปะเข้ามาช่วยปรุงแต่งนอกเหนือจากรสชาติของอาหาร กาจัดตกแต่งอาหารก็เพื่อต้องการความสวยงามทางสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อจิตใจ น่ารื่นรมย์ขึ้นทำให้อาหารมองดูน่ารับประทาน แสดงถึงความมีรสนิยมที่ดีและยังแสดงถึงความตั้งใจในการประกอบอาหารอีกด้วย

หลักการทั่วปในการจัดตกแต่งอาหาร มีหลักสำคัญดังนี้
1. ประกอบอาหารให้ดูน่รับประทาน ให้มีกลิ่นหอมตามลักษณะของอาหาร
2. ให้อาหารจานหนึ่งๆ มีสีต่างๆ ทำให้เป็นสีประกอบกันสวยงามน่ารับประทาน
3. จัดรูปร่างของอาหารต่างๆ กัน เป็นลวดลายที่น่าสนใจ
4. มีอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ กัน เพื่อให้เกิดลักษณะสัมผัสต่างๆ กัน เช่น ทอดให้กรอบ ตุ๋นให้เปื่อยนุ่ม
5. เลือกขนาดของภาชนะให้เหมาะสมกันปริมาณของอาหาร และจัดอาหาารให้อยู่ภายในขอบของภาชนะจัดอาหารลงภชนะให้พอดี อย่าให้มาและน้อยเกินไปไม่ล้นขอบจาน
6.มีอาหารหลายอย่างใส่รวมในจานเดียวกันควรเป็นของแห้ง ที่ไม่ทำให้รสชาติปะปนกัน
7.อาหารท่เป้นน้ำ เช่น แกง ควรมีจานรองหรือถาดรอง
8.รักษาพื้นที่ที่จะวางจานหรือชามให้สะอาดและเป็นระเบียบ
9.ตกแต่งอาหารเล็กๆน้อยๆเพื่อให้หน้ารับประทานเพิ่มขึ้น